วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีภาวะผู้นำ

                                                ทฤษฎีภาวะผู้นำ                                   
ทฤษฎีERG ของ Alderfer ซึ่งได้นำพื้นฐานความรุ้จากทฤษฏีของMaslow และ Herzberg มาสร้างรูปแบบการจูงใจ ขึ้นใหม่ทีคล้ายคลึงกัน  โดยแบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น
 3 กลุ่มใหญ่  ดังนี้
·       ความต้องการการอยู่รอด (E – existence )เป็นความต้องการทางร่างกายสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ  เช่น  อาหาร ที่อยู่อาศัย  เป็นต้น  หรือในองค์การก็เป็นค่าจ้าง  โบนัส  ผลประโยชน์ตอบแทน สภาพการทำงานที่ดีและสัญญาว่าจ้าง  เป็นต้น
·       ความต้องการความสัมพันธ์ ( R – relatedness ) เป็นความต้องการความสัมพันธ์ที่มีต่อกันกับบุคคลในองค์การ  เป็นความต้องการทุกชนิดในเชิงมนุษยสัมพันธ์
·       ความต้องการก้าวหน้าและเติบโต ( G – growth ) เป็นความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงสภาพ และความเติบโตก้าวหน้า ของคนงาน ความอยากเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิก  มีขอบเขตอำนาจขยายกว้างออกไป การพัฒนาเติบโต ด้วยความรู้ความสามารถ  ความต้องการความรับผิดชอบเพิ่มหรือสูงขึ้น  การทำกิจกรรมใหม่ที่มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถใหม่  และการมีโอกาสสัมผัสงานใหม่หลายด้านมากขึ้น
ทฤษฏี  ERG สมมุติฐานที่สำคัญ 3 ประการที่มีส่วนคล้ายคลึงและแตกต่างจากทฤษฎีของ Maslow   ดังนี้คือ
1 ) หากความต้องการระดับใดได้รับการตอบสนองน้อย ความต้องการประเภทนั้นจะมีอยู่สูง เช่น หากเงินเดือนมีน้อยความต้องการด้านนี้จะสูงเป็นต้น 
2) หากความรักการต้องการประเภทที่อยู่ต่ำกว่าได้รับการตอบสนองมากพอแล้ว  จะทำให้ความต้องการประเภทที่อยู่สูงขึ้นไปมีมากยิ่งขึ้น  เช่น  ได้รับค่าจ้างมากพอแล้ว  ก็จะต้องการความยอมรับจากเพื่อนร่วมงานมากขึ้น  เป็นต้น
3) หากความต้องการประเภทที่อยู่สูงมีอุปสรรค์ติดขัด  ได้รับการตอบสนองน้อย  ก็จะทำให้ความต้องการประเภทที่ต่ำกว่าลงไปมีความสำคัญมากขึ้น   เช่น  ไม่มีโอกาสเปลี่ยนงานใหม่ที่ท้าทายมากขึ้นได้  ก็จะหันมาสนใจและต้องการความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น  เป็นต้น   จากสมมุติฐานนี้เห็นได้ว่า  สองประการแรกคล้ายคลึงกับทฤษฎีของ  Maslow  เน้นการได้รับการตอบสนองเป็นขั้นๆ  และก้าวหน้าเรื่อยไป แต่ Alderfer  สามารถจะถอยหลังได้ โดยความต้องการใดได้รับการตอบสนอง ก็จะย้อนกลับไปหาความต้องการระดับต่ำกว่าทันที


รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่  17
1.            นายภาคภูมิ  แก้วกูล
2.            นางหนูแวว  ขุนแก้ว
3.            นายวิทยากร  ดิษฐเนตร
4.            นายเทิดพงษ์  ศรีเวียง

ทฤษฎีภาวะผู้นำ กลุ่ม 17